บาว นาคร กรุงเทพธุรกิจ วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552ในปัจจุบันประเทศไทยได้
เผชิญกับปัญหาต่างๆมากมาย ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม อาทิเช่น กรณีความขัดแย้งทางการเมือง วิกฤติเศรษฐกิจ ภาวะการตกงาน ปัญหาความรุนแรงใน สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัญหาผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่มาบตาพุด เป็นต้น ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่ เป็นผลพวงมาจากการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืนและไม่สมดุล
|
Archive for the ‘บทความเกี่ยวกับการเมืองการปกครอง’ Category
บทความ: “แผนฯ 11 กับมิติการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น”
พฤศจิกายน 20, 2009บทความเรื่อง “การปฏิวัติเงียบ”
พฤศจิกายน 19, 2009การปฏิวัติเงียบ บทความที่ ดร.โกวิท วงศ์สุรวัฒน์ เขียนไว้เมื่อ 18 กันยาย 2545 ที่กล่าวถึง ความสำคัญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เสมือนเป็น การปฏิวัติเงียบ ที่เปลี่ยนแปลงลักษณะการปกครองของไทยไปสู่การกระจายอำนาจมากขึ้น แม้ว่าข้อเขียนของท่านอาจารย์จะเขียนไว้นานเจ็ดปีแล้ว แต่ก็ยังสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่จะทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้นไป ต่อการพัฒนาประเทศไทย
บ่อยครั้งที่มนุษย์มองอยู่แต่ไม่เห็น กล่าวคือ มิได้ตระหนักในความสำคัญของสิ่งที่ตนเองกำลังมองอยู่”
กรณีตัวอย่างรัฐบาลไทยในสมัยวิกฤตการณ์ต้มยำกุ้งเมื่อปี พ.ศ.2540 คนไทยมองและฟังอยู่ แต่ไม่เห็นและไม่ได้ยิน พูดกันง่ายๆว่าคนไทยไม่เข้าใจว่าตัวเองต้องใช้หนี้ที่ตังเองไม่ได้ก่อ ไม่ได้กู้ยืมเงินมาเลยแม่แต่บาทเดียว รัฐบาลไทยประกาศจะใช้หนี้แทนเอกชน ซึ่งต้องใช้เงินภาษีอากรของประชาชนไปใช้หนี้ต่างประเทศ คนไทยก็เฉยๆกันทั้งประเทศ ถ้าเรื่องแบบนี้เกิดขึ้นในประเทศอื่น คงจะมีการจลาจลคัดค้านต่อต้านกันยกใหญ่ เพราะมันไม่เป็นธรรมเลย ที่ประชาชนทั้งประเทศต้องมาแบกรับภาระหนี้มหาศาลที่ตัวเองไม่ได้ก่อ ทั้งๆที่คนก่อหนี้ยังสุขสบายดีกันทุกคน
ปัจจุบันนี้มีการปฏิวัติเงียบเกิดขึ้นในเมืองไทยที่คนส่วนใหญ่มองอยู่ แต่ไม่เห็น ไม่ตระหนักว่าการเปลี่ยนแปลงอย่างพลิกแผ่นดินได้เกิดขึ้นแล้ว นั่นคือ การปฏิวัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) เทศบาลตำบล เทศบาลเมือง และเทศบาลนคร กับองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2538 มีการจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ขึ้นเป็นครั้งแรก จำนวน 617 แห่ง ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) คือ หน่วยการบริการราชการส่วนท้องถิ่น มีฐานะเป็นนิติบุคคล และเป็นราชการส่วนท้องถิ่น ภายในเวลาเพียงสองปีเท่านั้น คือในปีพ.ศ.2540 ประเทศไทยก็มีปริมาณของ อบต. เพิ่มขึ้น 10 เท่า เป็น 6,397 แห่ง เมื่อเต็มพื้นที่ก็คือ 6,964 แห่ง เป็นนิติบุคคลที่มีความรับผิดชอบในการบริหารเขตพื้นที่ทั่วประเทศไทย